นิทานพื้นบ้านภาคใต้ เรื่อง ประวัติตากใบจังหวัดนราธิวาส เมื่อ 400 ปีที่แล้ว
เนื้อเรื่องของนิทานพื้นบ้านภาคใต้เรื่องนี้
เมื่อประมาณ 400 ปีมาแล้ว ในราวสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น มีพ่อค้าจีนคนหนึ่งล่องเรือสำเภามาจากประเทศจีน เพื่อไปขายสินค้ายังแหลมมลายู ในเรือสำเภานั้นได้บรรทุกสินค้า เครื่องปั้นดินเผามาเต็มลำเรือ เช่น เครื่องลายคราม ชามเบญจรงค์ โอ่ง ไห ลายมังกร เป็นต้น สินค้าเหล่านี้มีลวดลายสีสันงดงามมาก
วันหนึ่งขณะที่เรือสำเภาแล่นอยุ่กลางทะเลใกล้ปากอ่าวทางตอนใต้ของไทย ได้บังเกิดลมพายุ คลื่นลมแรงจัดมาก จนในที่สุดเรือกำลังจะจม พ่อค้าจีนจึงได้สั่งให้ปลดใบเรือลง จากนั้นเรือค่อย ๆ จมลงในท้องทะเล
พ่อค้าจีน ไต้ก๋ง พร้อมลุกเรือทุกคนได้พยายามช่วยเหลือตัวเองจนสามารถขึ้นเกาะที่อุดมสมบุรณ์ แห่งหนึ่งได้ทุกคน เมื่อคลื่นลมสงบ ทุกคนจึงพากันไปกู้เรือและนำสินค้าขึ้นฝั่งได้สำเร็จ จากนั้นจึงเอาใบเรือเสื้อผ้า ขึ้นไปตากตามต้นไม้และกิ่งไม้
มีแขกมลายูคนหนึ่งมีอาชีพตัดไม้ไปขาย ได้มาตัดไม้ใกล้บริเวณที่พ่อค้าจีนตากใบเรือและเสื้อผ้า เมื่อเห็นสิ่งเหล่านั้น แขกมลายูจึงคิดที่จะขดมย จึงไปตัดต้นไม้ที่มีเสื้อผ้าตากอยู่ แต่พ่อค้าจีนและลูกเรือกลับมาเห็นเสียก่อนจึงร้องตะโกนขึ้นว่า เจ๊ะ?.เฮ้ ๆ ๆ ๆ เอาเสื้อผ้าอั้วคืนมา แขกมลายูตกใจมาก จึงกล่าวขอโทษและรักปากว่าจะไม่ทำอย่างนี้อีก พ่อค้าจีนและลูกเรือทั้งหมดจึงยกโทษให้ และได้อาศัยทำมาหากินบนเกาะนี้อย่างมีความสุข
![](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_uO1Fx1sBAK65oTEZpDPPvVNZiEaSv7o6n2M1FhMiQxQ-h2vmU6sbAuRuSA3YhtxwB7NfKG6R1pSs11IFZmvj2qe20JRy8UKtWlVOqxQEDE2wyvwy69-cT-3swUOAz1Kp5rlxup6ACM-gvZPyBwF8fuZ-G7INSK7v3aVyl7Duqps__TESJdNG6VNHd9iVP26tUQKsqfZnzPfgmTlA0QD05PyaHcnCz1P50BysNOS24vHoVJjzCPjLsAur00IENJrkGTFygazTfjMsHjmk9X6jShxLa19eB3xRU_Yho21ItdUpnu6PwI6c5k7Xgr1qeyz2t89nyprSLKOK_THRZT0BjOSkLqIrco4ykVNQ5yopxx4DGcWkPZ4WbrEyyuJj027Y8IIJskGmfBtvUJPHdb4Vw0dxCdK9Yh2790Qv6gkzSfz3OYBu0nWSPe4qEqjXB4g1dPRTJYhXbN01T5RbhKStmv81xaeIS734dnFpxw3gPmNLNPkHUDhnms92ZVH0W0oFuKoSs=s0-d)
ต่อมาได้มีพ่อค้าสำเภาาจีนลำอื่นล่องเรือมาค้าขายบนเกาะนี้มากขึ้น สินค้าส่วนใหญ่ที่นำมาขายมีชามเบญจรงคฺ์ โอ่ง ไหลายมังกร เครื่องลายคราม จนทำให้ชาวเกาะแห่งนี้มีเครื่องใช้เหล่านี้ทุกครัวเรือน นับเป็นการนำศิลปะ ประติมากรรมมาเผยแพร่ในประเทศไทย จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งสามารถไปชมได้ที่วัดชลธาราสิงเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส?
ขอย้ำว่าที่คัดมาเป็นนิทานของชาวบ้านที่นราธิวาส ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างคนมลายูพื้นเมืองกับพ่อค้าจีน ที่มาจากทางทะเลตรงตามสภาพภูมิศาสตร์จริงๆ
จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดที่เก่า
แก่อันดับต้นต้นของประเทศไทย
จึงไม่แปลกเลยค่ะที่จะมีนิทานพื้นบ้านภาคใต้เกิดขึ้นมากมายที่จังหวัด
นราธิวาสแห่งนี้
และนิทานพื้นบ้านที่เกิดขึ้นที่จังหวัดนราธิวาสก็ถือว่าเป็นประวัติของ
จังหวัดนราธิวาสด้วยเช่นกัน
เรื่องราวในนิทานภาคใต้เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อเกือบ 400 ปีที่แล้วค่ะ
ซึ่งถ้าเทียบยุคสมัยกันแล้วก็จะเกิดขึ้นในช่วงอยุทธยานั่นเองค่ะ
แถมยังเป็นประวัติของอำเภอตากใบอีกด้วย
เรื่องราวจะเป็นอย่างไรสนุกแค่ำไหนต้องลองอ่านกันดูค่ะ
เนื้อเรื่องของนิทานพื้นบ้านภาคใต้เรื่องนี้
เมื่อประมาณ 400 ปีมาแล้ว ในราวสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น มีพ่อค้าจีนคนหนึ่งล่องเรือสำเภามาจากประเทศจีน เพื่อไปขายสินค้ายังแหลมมลายู ในเรือสำเภานั้นได้บรรทุกสินค้า เครื่องปั้นดินเผามาเต็มลำเรือ เช่น เครื่องลายคราม ชามเบญจรงค์ โอ่ง ไห ลายมังกร เป็นต้น สินค้าเหล่านี้มีลวดลายสีสันงดงามมาก
วันหนึ่งขณะที่เรือสำเภาแล่นอยุ่กลางทะเลใกล้ปากอ่าวทางตอนใต้ของไทย ได้บังเกิดลมพายุ คลื่นลมแรงจัดมาก จนในที่สุดเรือกำลังจะจม พ่อค้าจีนจึงได้สั่งให้ปลดใบเรือลง จากนั้นเรือค่อย ๆ จมลงในท้องทะเล
พ่อค้าจีน ไต้ก๋ง พร้อมลุกเรือทุกคนได้พยายามช่วยเหลือตัวเองจนสามารถขึ้นเกาะที่อุดมสมบุรณ์ แห่งหนึ่งได้ทุกคน เมื่อคลื่นลมสงบ ทุกคนจึงพากันไปกู้เรือและนำสินค้าขึ้นฝั่งได้สำเร็จ จากนั้นจึงเอาใบเรือเสื้อผ้า ขึ้นไปตากตามต้นไม้และกิ่งไม้
มีแขกมลายูคนหนึ่งมีอาชีพตัดไม้ไปขาย ได้มาตัดไม้ใกล้บริเวณที่พ่อค้าจีนตากใบเรือและเสื้อผ้า เมื่อเห็นสิ่งเหล่านั้น แขกมลายูจึงคิดที่จะขดมย จึงไปตัดต้นไม้ที่มีเสื้อผ้าตากอยู่ แต่พ่อค้าจีนและลูกเรือกลับมาเห็นเสียก่อนจึงร้องตะโกนขึ้นว่า เจ๊ะ?.เฮ้ ๆ ๆ ๆ เอาเสื้อผ้าอั้วคืนมา แขกมลายูตกใจมาก จึงกล่าวขอโทษและรักปากว่าจะไม่ทำอย่างนี้อีก พ่อค้าจีนและลูกเรือทั้งหมดจึงยกโทษให้ และได้อาศัยทำมาหากินบนเกาะนี้อย่างมีความสุข
ต่อมาได้มีพ่อค้าสำเภาาจีนลำอื่นล่องเรือมาค้าขายบนเกาะนี้มากขึ้น สินค้าส่วนใหญ่ที่นำมาขายมีชามเบญจรงคฺ์ โอ่ง ไหลายมังกร เครื่องลายคราม จนทำให้ชาวเกาะแห่งนี้มีเครื่องใช้เหล่านี้ทุกครัวเรือน นับเป็นการนำศิลปะ ประติมากรรมมาเผยแพร่ในประเทศไทย จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งสามารถไปชมได้ที่วัดชลธาราสิงเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส?
ขอย้ำว่าที่คัดมาเป็นนิทานของชาวบ้านที่นราธิวาส ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างคนมลายูพื้นเมืองกับพ่อค้าจีน ที่มาจากทางทะเลตรงตามสภาพภูมิศาสตร์จริงๆ